เมนู

ในระหว่าง นั้นเป็นชื่อของนันทิราคะ มีดแล่โคอันคมนั้น เป็นชื่อของปัญญา
อันประเสริฐ ซึ่งใช้เถือ แล่ คว้านกิเลสในระหว่าง สัญโญชน์ในระหว่าง
เครื่องผูกในระหว่างได้.

ว่าด้วยโพชฌงค์ 7


[792] ดูก่อนน้องหญิงทั้งหลาย โพชฌงค์ที่ภิกษุเจริญแล้ว ทำให้
มากแล้ว เป็นเหตุ ย่อมเข้าถึงเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้
เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ทำให้แจ้งเพราะรู้ยิ่ง ด้วยตนเองในปัจจุบันอยู่
เหล่านี้ มี 7 อย่างแล 7 อย่างเป็นไฉน ดูก่อนน้องหญิงทั้งหลาย คือ ภิกษุใน
พระธรรมวินัยนี้.
(1) ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัย
นิโรธ อันน้อมไปเพื่อความปลดปล่อย
(2) ย่อมเจริญธัมมวิจยสัมโพชฌงค์...
(3) ย่อมเจริญวิริยสัมโพชฌงค์...
(4) ย่อมเจริญปีติสัมโพชฌงค์...
(5) ย่อมเจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์...
(6) ย่อมเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์...
(7) ย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ
อาศัยนิโรธ อันน้อมไปเพื่อความปลดปล่อย ดูก่อนน้องหญิงทั้งหลาย เหล่านี้แล
โพชฌงค์ 7 ที่ภิกษุเจริญแล้ว ทำให้มากแล้วเป็นเหตุ ย่อมเข้าถึงเจโตวิมุตติ
ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ทำให้แจ้งเพราะ
รู้ยิ่งด้วยตนเองในปัจจุบันอยู่.

[793] ครั้นท่านพระนันทกะกล่าวสอนภิกษุณีเหล่านั้น ด้วยโอวาทนี้
แล้ว จึงส่งไปด้วยคำว่า ดูก่อนน้องหญิงทั้งหลาย พวกท่านจงไปเถิดสมควร
แก่เวลาแล้ว ลำดับนั้น ภิกษุณีเหล่านั้น ยินดีอนุโมทนาภาษิตของท่านพระ
นันทกะแล้ว ลุกจากอาสนะ อภิวาทท่านพระนันทกะ กระทำประทักษิณ
เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้ายังที่ประทับ แล้วถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้า
ยืน ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พอยืนเรียบร้อยแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัส
ดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุณีทั้งหลาย พวกเธอจงไปเถิด สมควรแก่เวลาแล้ว ต่อนั้น
ภิกษุณีเหล่านั้นได้ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้า การทำประทักษิณแล้ว
หลีกไป.
[794] ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อภิกษุณีเหล่านั้นหลีก
ไปแล้วไม่นาน ได้ตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในทุกวัน
อุโบสถ 15 ค่ำนั้น ชนเป็นอันมากไม่มีความเคลือบแคลง หรือสงสัยว่า
ดวงจันทร์พร่องหรือเต็มหนอ แต่แท้ที่จริงดวงจันทร์ก็เต็มแล้วที่เดียว ฉันใด
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีเหล่านั้นย่อมเป็นผู้ชื่นชมธรรมเทศนาของนันทกะ
และมีความดำริบริบูรณ์แล้ว ฉันนั้นเหมือนกันแล. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
บรรดาภิกษุณีทั้ง 500 รูปนั้น รูปสุดท้ายยังเป็นถึงพระโสดาบัน มีความไม่
ตกต่ำเป็นธรรมดา แน่นอนที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า.
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้น ต่างชื่นชม
ยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล.
จบ นันทโกวาทสูตร ที่ 4

อรรถกถานันทโกวาทสูตร



นันทโกวาทสูตรขึ้นต้นว่า ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:-
ในสูตรนั้น คำว่า ก็โดยสมัยนั้นแล ความว่า เมื่อพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าทรงได้รับการขอร้องจากพระมหาปชาบดีโคตมีแล้ว ก็ทรงส่งภิกษุณีสงฆ์
ไป. แล้วรับสั่งให้ภิกษุสงฆ์เข้าประชุม ทรงกระทำการแก่สงฆ์ว่า ภิกษุทั้งหลาย
ที่เป็นเถระจงเปลี่ยนเวรกันสอนพวกภิกษุณี พระอานนท์กล่าวหมายเอาความ
ข้อนั้น จึงกล่าวคำว่านี้. ในสูตรนั้น คำว่า ปริยาเยน หมายถึงโดยวาระ.
คำว่า ไม่ปรารถนา คือเมื่อถึงเวรของตนแล้ว ผู้สอนภิกษุณีจะไปบ้านไกล
หรือเอาเข็มมาเย็บผ้าเป็นต้น แล้วสูงให้พูดแทนว่า นี้คงจะเป็นความล่าช้าของ
ภิกษุนั้น แต่การเปลี่ยนเวรกันสอนนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงกระทำการะ
เพราะเหตุแห่งพระนันทกเถระเท่านั้น. เพราะเหตุไร เพราะเมื่อพวกภิกษุณี
เหล่านี้ได้เห็นพระเถระแล้ว จิตก็จะเลื่อมใสแน่วแน่. เพราะเหตุนั้น พวกนาง
ภิกษุณีเหล่านั้นจึงอยากรับคำสอนของท่าน ประสงค์จะฟังธรรมกถา ฉะนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงได้ทรงทำโอวาทโดยวาระว่า เมื่อถึงเวรของคนแล้ว
นันทกะจะแสดงโอวาทจะกล่าวธรรมกถา ฝ่ายพระเถระไม่ยอมทำเวรของตน.
หากมีคำถามว่า เพราะเหตุไร ก็ตอบว่า นัยว่าภิกษุณีเหล่านั้น เมื่อพระเถระ
เสวยราชสมบัติในชมพูทวีปเมื่อชาติก่อน เป็นนางสนม. พระเถระได้ทราบ
เหตุการณ์นั้นด้วยบุพเพนิวาสญาณ จึงคิดว่า ภิกษุอื่นที่ได้บุพเพนิวาสญาณ
เมื่อได้เห็นเรานั่งกลางภิกษุณีสงฆ์นี้ชักเอาข้อเปรียบเทียบและเหตุการณ์ต่าง ๆ
มากล่าวธรรมอยู่ ก็จะพึงมองเหตุการณ์นี้แล้วสำคัญคำที่จะพึงกล่าวว่า ท่าน
นันทกะไม่ยอมทั้งพวกนางสนมจนกระทั่งถึงทุกวันนี้ ท่านนันทกะที่มีนางสนม